กำหนดการประชุม

กำหนดการประชุมวิชาการด้านชายแดนศึกษาและการพัฒนาระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3
วันที่ 18 กันยายน 2563 เวลา 09.00-15.00 น.
ผ่านระบบการประชุมออนไลน์
จัดโดย สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

09.00-09.15 น.

กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.ศิริพร วัชชวัลคุ
รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

09.15-10.00 น.

ปาฐกถานำ “เราเป็นคนไทยแต่ทำไมถึงกลับประเทศไม่ได้”: รัฐ พลเมือง และเขตแดนในสถานการณ์ระบาดโควิด 19”
โดย รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.00-11.00 น.

การนำเสนองานวิชาการ (นำเสนอคนละ 15 นาที)
หัวข้อนำเสนอ 01 “ด่านพรมแดนกับการพัฒนาจากคนในท้องถิ่น”

1) “การเมือง ระบบราชการ และความมั่นคงของการยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวร: กรณีศึกษาจุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่น ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ” โดย ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

2) “กลุ่มชาติพันธุ์ กองทัพ และรัฐบาลเมียนมา : ความมั่นคง และ การค้าข้ามพรมแดนไทย – เมียนมา: กรณีศึกษา จุดผ่อนปรนการค้าบ้านแม่สามแลบและบ้านเสาหิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดย อาจารย์กฤษณะ โชติสุทธิ์

3) “การค้าชายแดนกับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน: กรณี ศึกษาชุมชนในพื้นที่ชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์”
โดย ผศ.ดร.ฟ้ารุ่ง มีอุดร

4) “บทบาทผู้ค้ารายย่อยชาติพันธุ์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน กรณีศึกษา จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน ตำบลชนแดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน”
โดยอาจารย์กิ่งแก้ว ทิศตึง

ให้ความเห็นโดย: ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

11.00-12.00 น.

การนำเสนองานวิชาการ (นำเสนอคนละ 15 นาที)
หัวข้อนำเสนอ 02 “ภาคประชาสังคมกับสิ่งแวดล้อมข้ามแดน”

1) “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติในกระบวนการบริหารปกครองน้ำข้ามพรมแดน” โดย ดร.ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ

2) “พลวัตการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมกะเหรี่ยงในขบวนการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศเมียนมา
โดยลัดดาวัลย์ ต๊ะมาฟู

ให้ความเห็นโดย: ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

12.00-13.00 น.

การนำเสนองานวิชาการ (นำเสนอคนละ 15 นาที)
หัวข้อนำเสนอ 03 “สิทธิพลเมืองและชุมชนข้ามถิ่นชั่วคราว”

1) “ชุมชนข้ามถิ่นที่ชั่วคราวของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่ากับการกลายเป็นชายแดนของชุมชนที่อยู่ไกลจากเส้นพรมแดนรัฐชาติ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี” โดย รศ.สมหมาย ชินนาค

2) “ ‘พลเมือง’: ความหมายและความเปลี่ยนแปลง ศึกษากรณีประเทศไทย และเมียนมา” โดย ผศ.ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

ให้ความเห็นโดย: ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13.00-14.00 น.

การนำเสนองานวิชาการ (นำเสนอคนละ 15 นาที)
หัวข้อนำเสนอ 04 “เชียงรายในสถานการณ์ COVID-19”

1) “‘ชีวิตวิถีใหม่’” ในช่วงการระบาดของโควิด-19: การจัดการพื้นที่ คน และการกีดกันในชุมชน” โดย ดร. จารุวรรณ หัตถผสุ

2) “‘การเมือง’” เรื่องโควิด-19 บนพื้นที่โลกออนไลน์ และ ฏิสัมพันธ์บนพื้นที่จริงของจังหวัดเชียงรายในช่วงภาวะ “ฝุ่นตลบ”” โดย อ.ปฐมพงศ์ มโนหาญ

3) “ระบอบการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติในสถานการณ์โควิด 19” โดยสืบสกุล กิจนุกร

ให้ความเห็นโดย: รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.00-15.00 น.

การนำเสนองานวิชาการ (นำเสนอคนละ 15 นาที)
หัวข้อนำเสนอ 05 “เมืองชายแดนและสินค้าข้ามแดน”

1) “ระบบนายหน้าค้าวัวควายข้ามแดน: การค้าแบบกึ่งทางการ ความเสี่ยง และอำนาจที่เหลื่อมล้ำ” โดย รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และพนา กันธา

2) “บทบาทของผู้ค้าไก่ต่อการพัฒนาการค้าชายแดนช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี” โดย ผศ.ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ

3) “กระบวนการกลายเป็นเมืองกับความหลากหลายด้านเกษตรกรรม กรณีศึกษาเมืองศรีสะเกษ” โดย รศ. ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์

ให้ความเห็นโดย: รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

15.00-15.10 น.

กล่าวปิดงานโดย รศ.ดร.ศิริพร วัชชวัลคุ
รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง